http://tungsawang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ข้อมูลพื้นฐาน

 ประกาศและแผนงาน

 จัดซื้อจัดจ้าง

 รับเรื่องร้องเรียน

 ถาม - ตอบ

 ติดต่อเรา

บริการ

หน้าหลัก
ประวัติตำบล
ภาพกิจกรรม
-ทำเนียบผู้บริหาร
-ส่วนการคลัง
-สมาชิกสภาตำบลฯ
-สำนักปลัด
-ส่วนโยธา
-ส่วนการศึกษา
กฏหมายและระเบียบต่างๆ
งานจัดเก็บรายได้
ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

ข่าวประชาสัมพันธ์

สถิติ

เปิดเว็บ27/08/2007
อัพเดท01/05/2020
ผู้เข้าชม140,869
เปิดเพจ221,393
iGetWeb.com
AdsOne.com

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงอะไร

ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น

          ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นคำที่มีความหมายเช่นเดียวกับ คำว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากผู้รู้หรือผู้มี ประสบการณ์ ซึ่งเรียกว่าปราชญ์ชาวบ้าน หรือปราชญ์ ท้องถิ่น ซึ่งมีผู้ให้คำจำกัดความของภูมิปัญญาท้องถิ่นใน ลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้

  1. กรมวิชาการ (2538) ให้ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น ว่า คือ ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเราผ่าน กระบวนศึกษา สังเกต วิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกมา เป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลายเรื่อง ความรู้ดังกล่าวไม่ได้แยกย่อยออกมาให้เห็นเป็นศาสตร์เฉพาะ สาขาวิชาต่างๆ อาจกล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดเป็นพื้นฐาน ขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่ช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา
  2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (ม.ป.ป.) กล่าวถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยว่า เป็นองค์ความรู้ความ สามารถและทักษะของคนไทยที่เกิดจากสั่งสมประสบการณ์ ที่ผ่านกระบวนการเลือกสรร เรียนรู้ ปรุงแต่ง และถ่ายทอด สืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทย ให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย
  3. สามารถ จันทร์สูรย์(2536) กล่าวว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างทีชาวบ้านคิดได้เองที่นำมาใช้ใน การแก้ปัญหา เป็นสติปัญญา เป็นองค์ความรู้ทั้งหมดของ ชาวบ้านทั้งกว้าง ทั้งลึก ที่ชาวบ้านสามารถคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินวิถีชีวิตใน ท้องถิ่นอย่างสมสมัย
  4. จากความหมายดังกล่าว อาจสรุปว่า ภูมิปัญญา ท้องถิ่น หมายถึง องค์ความรู้ หรือสิ่งที่สั่งสมกันมาตั้งแต่ อดีต ซึ่งเป็นประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตของคนใน ท้องถิ่นซึ่งได้ผ่านการคิดค้นและปรับปรุง เปลี่ยนแปลง จนได้แนวทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพสังคม เป็นที่ยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไป ถือเป็นแบบอย่าง ในการดำรงชีวิตที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา

ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น

          ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายร่วมถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้าน คิดค้นขึ้น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาแก้ปัญหา เป็นทั้ง สติปัญญาและองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ดังนั้น จึงมี ความครอบคลุมเนื้อหาสาระและแนวทางดำเนินชีวิตใน วงกว้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบไปด้วยองค์ความรู้ใน หลายวิชา ดังที่ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2541) ได้จำแนกไว้รวม 10 สาขา คือ

               1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐาน คุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การท า การเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญญา การเกษตรเป็นต้น

                  2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค) หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อ ชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรมอันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทาง เศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจัดจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มหัตถกรรม และอื่นๆ เป็นต้น

                  3. สาขาการแพทย์ไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการปูองกันและ รักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทาง ด้านสุขภาพและอนามัยได้

                4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งอนุรักษ์ การพัฒนา และใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

                  5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในด้านบริหารจัด การค้าการสะสมและบริการกองทุนและธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและ โภคทรัพย์เพื่อเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน

             6. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกัน คุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม

            7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะ สาขาต่างๆ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ เป็นต้น

                   8. สาขาจัดการ หมายถึง ความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงาน ด้านต่างๆ ทั้งขององค์กรชุมชน องค์กรทางสังคมอื่นๆ ในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้านระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เป็นต้น กรณีของการจัดการศึกษาเรียนรู้ นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มี ความสำคัญ เพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ดี หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาไทยที่มีประสิทธิผล

                     9. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงาน เกี่ยวกับด้านภาษา ทั้ง ภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท

                  10. สาขาศาสนาและประเพณีหมายถึง ความสามารถประยุกต์และ ปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ ประเพณี บุญประทายข้าว เป็นต้น

ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน หรือปราชญ์ท้องถิ่น

ตำบลทุ่งสว่าง  อำเภอวังหิน  จังหวัดศรีสะเกษ

ชื่อ-สกุล  นายม่อน  พิมพ์ทอง                       
วัน/เดือน/ปีเกิด  24 กันยายน 2490
อายุ  70 ปี
ที่อยู่ 38 บ้านน้ำท่วม หมู่ 12 ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
รหัสไปรษณีย์ 33270
สถานภาพ สมรสอยู่ด้วยกัน
การศึกษา ประถมศึกษา
อาชีพปัจุบัน ทำนา
ภูมิปัญญา  ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี
เรื่อง สู่ขวัญ

ชื่อ-สกุล  นายสูง  คะเซ็นต์                       
วัน/เดือน/ปีเกิด  6 เมษายน 2476
อายุ  84 ปี
ที่อยู่ 15 บ้านทางสายใต้ หมู่ 14 ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
รหัสไปรษณีย์ 33270
สถานภาพ สมรสอยู่ด้วยกัน
การศึกษา ประถมศึกษา
อาชีพปัจุบัน ทำนา
ภูมิปัญญา  ด้านอุตสาหกรรม หัถกรรม จักสานและโอท๊อป
เรื่อง จักสาน

ชื่อ-สกุล  นายทอน  พิมพ์ทอง                       
วัน/เดือน/ปีเกิด  15 สิงหาคม 2491
อายุ  69 ปี
ที่อยู่  20 บ้านเฟื่อยพุ่ม หมู่ 5 ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
รหัสไปรษณีย์ 33270
สถานภาพ สมรสอยู่ด้วยกัน
การศึกษา ประถมศึกษา
อาชีพปัจุบัน ทำนา
ภูมิปัญญา  ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี
เรื่อง หมอดู

ชื่อ-สกุล  นายวิชัย  พิมพ์ทอง                       
วัน/เดือน/ปีเกิด  8 พฤศจิกายน 2490
อายุ  70 ปี
ที่อยู่ 10 บ้านเฟื่อยพุ่ม หมู่ 5 ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
รหัสไปรษณีย์ 33270
สถานภาพ สมรสอยู่ด้วยกัน
การศึกษา ประถมศึกษา
อาชีพปัจุบัน ทำนา
ภูมิปัญญา  ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี
เรื่อง เป่าแคน

ชื่อ-สกุล  นายเสริม  พิมพ์ทอง                       
วัน/เดือน/ปีเกิด  6 พฤษภาคม 2491
อายุ 71 ปี
ที่อยู่ 28 บ้านสมอ หมู่ 11 ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
รหัสไปรษณีย์ 33270
สถานภาพ สมรสอยู่ด้วยกัน
การศึกษา ประถมศึกษา
อาชีพปัจุบัน ทำนา
ภูมิปัญญา  ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี
เรื่อง สู่ขวัญ


view
view