http://tungsawang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 ข้อมูลพื้นฐาน

 ประกาศและแผนงาน

 จัดซื้อจัดจ้าง

 รับเรื่องร้องเรียน

 ถาม - ตอบ

 ติดต่อเรา

บริการ

หน้าหลัก
ประวัติตำบล
ภาพกิจกรรม
-ทำเนียบผู้บริหาร
-ส่วนการคลัง
-สมาชิกสภาตำบลฯ
-สำนักปลัด
-ส่วนโยธา
-ส่วนการศึกษา
กฏหมายและระเบียบต่างๆ
งานจัดเก็บรายได้
ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

ข่าวประชาสัมพันธ์

สถิติ

เปิดเว็บ27/08/2007
อัพเดท01/05/2020
ผู้เข้าชม140,964
เปิดเพจ221,488
iGetWeb.com
AdsOne.com

 

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่าง

ที่ตั้ง

·       ตำบลทุ่งสว่างเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอวังหิน   จังหวัดศรีสะเกษ    ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอวังหิน   อยู่ห่าง จากที่ว่าการอำเภอวังหิน  ประมาณ 11 กิโลเมตร  อยู่ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 15กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดกับตำบลใกล้เคียงดังนี้

-  ทิศเหนือจดตำบลหมากเขียบ

-  ทิศใต้จดตำบลธาตุ

-  ทิศตะวันออกจดตำบลบ่อแก้ว

-  ทิศตะวันตกจด ตำบลแข้ อำเภออุทุมพรพิสัย

·   เนื้อที่ของตำบลทุ่งสว่าง โดยประมาณ    28.64  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 17,900 ไร่

·       ภูมิประเทศของตำบลทุ่งสว่าง

       สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบ สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง ดินเป็นดินร่วนปนทราย

       อุณหภูมิ

สูงสุด  36  องศาเซลเซียส

ต่ำสุด  14  องศาเซลเซียส

ความสูงจากระดับน้ำทะเล  120   เมตร

       แหล่งน้ำและปริมาณในรอบปี   ปริมาณน้ำฝน

-   ระดับน้ำใต้ดิน 5 – 8  เมตร

-   การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำแต่ละแหล่งครอบคลุมพื้นที่  1,000  ไร่

-   ห้วย  ได้แก่  ห้วยคล้า ห้วยสำราญ , ร่องบ่อ

-   หนอง ได้แก่  หนองแคน  หนองบ่อ   หนองผักไหม          

·       จำนวนหมู่บ้าน  15 หมู่บ้าน

-   จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. ทั้งหมู่บ้าน 15 หมู่

-   จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาล บางส่วน หมู่

    ประชากรทั้งสิ้น  4,439   คน

                     แยก เป็นชาย    2,200  คน

                     แยกเป็นหญิง   2,239 คน

     จำนวนครัวเรือน  854  ครัวเรือน

สภาพทางเศรษฐกิจ

·       ราคาประเมินที่ดินในพื้นที่ตำบลทุ่งสว่าง  อำเภอวังหิน  จังหวัดศรีสะเกษ

        -  ที่ดินติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข (  สายศรีสะเกษ ขุขันธ์ )  ระยะ 40  เมตร

         ราคา  700  บาทต่อ 1  ตารางวา  หรือ  ไร่ละ  280,000  บาท

        -  ที่ดินติดทางหลวงชนบทสายบ้านสมอ-หนองหมากแซว-โนนสำโรง-บ้านธาตุ

         ระยะ 40  เมตร  ราคา 600  บาทต่อ 1  ตารางวา   หรือไร่ละ  240,000  บาท

        -  ที่ดินติดถนน  ทาง  ซอย  ระยะ 40  เมตร  ราคา 300  บาทต่อ 1  ตารางวา   หรือ

        ไร่ละ 120,000  บาท

        -  ที่ดินนอกจากหน่วยที่ 1-3  ราคา  80  บาทต่อ 1  ตารางวา   หรือไร่ละ 32,000  บาท

·       อาชีพของประชากรในตำบลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ดังนี้

การเพาะปลูก ข้าว พริก หอมแดง กระเทียม

-          การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ เป็ด ไก่ และสุกร ลักษณะการเลี้ยงเป็นการปล่อยตามทุ่งหญ้าหรือไร่นา

-          สภาพถือครองที่ดิน   พื้นที่ถือครองทั้งตำบล   11,520  ไร่      แบ่งออกเป็น

(1)   พื้นที่บริเวณที่ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย   950 ไร่          

(2)  พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด   10,570 ไร่          

                        แบ่งเป็น    ที่นา      9,370    ไร่          

                                         ที่สวน  1,200    ไร่          

ที่อื่น ๆ -   ไร่          

(3)  พื้นที่ป่า   4,200  ไร่

(4)  ที่ดินสาธารณะ   980  ไร่          

(5)  พื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำทั้งตำบล

แบ่งเป็น หนองบึง  290  ไร่          

ห้วยลำธาร  600  ไร่          

อื่น ๆ  40  ไร่          

 (6)  บริเวณพื้นที่ที่ประสบกับภัยธรรมชาติเป็นประจำ

            ฝนแล้ง    -    ไร่

            น้ำท่วม   400  ไร่          

(7)  อื่น ๆ ที่วัด  โรงเรียน  ป่าช้า  250 ไร่          

·       หน่วยธุรกิจในเขตตำบล

-      ปั้มหลอด  6 แห่ง

-      โรงสี  13   แห่ง

สภาพสังคม          

·              การศึกษา

- โรงเรียนประถมศึกษา  3  แห่ง

โรงเรียนมัธยมศึกษา(ขยายโอกาส)   2    แห่ง

ที่อ่านหนังสือพิมพ์หมู่บ้าน   2   แห่ง

·                   สถาบันและองค์กรทางศาสนา

วัด/สำนักสงฆ์   9  แห่ง

โบสถ์    3   แห่ง

·                   การสาธารณสุข

-   สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน   1     แห่ง

-   อัตราการใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ   100

·   ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

-   สถานีตำรวจ      -     แห่ง

-   สถานีดับเพลิง    -     แห่ง

 บริการด้านพื้นฐาน

·   การคมนาคม

-   ถนนลูกรังเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน 6 สาย

-   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 จากอำเภอเมืองศรีสะเกษ ผ่านอำเภอวังหินไป อำเภอขุขันธ์

·   การโทรคมนาคม

-   ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข   -   แห่ง

-   ตู้โทรศัพท์สาธารณะ  15   แห่ง

·   การไฟฟ้า

-   หมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง   15  แห่ง

-   จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า  870    ครัวเรือน

·    แหล่งน้ำธรรมชาติ

-    ลำน้ำ  ลำห้วย    3     แห่ง

-    บึง  หนอง  8   แห่ง

·    แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

-    ฝาย      5      แห่ง

-    บ่อน้ำตื้น    130    แห่ง

-    บ่อบาดาล    15  แห่ง

-    ถังเก็บน้ำฝน   -    แห่ง      

·    รายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณ  2549   จำนวน 6,415,565.18  บาท

·    สินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล

-    ผ้าไหม 

-    มาลัยดอกมะลิ

 

ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่

1.  สภาพภูมิประเทศของตำบลเป็นที่ราบ   ดินเป็นดินร่วนปนทราย   เหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์  

    หากมีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร  ก็จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น  และในตำบลมีแหล่งท่องเที่ยวคือ

     อ่างเก็บน้ำวังหิน    เหมาะแก่การจัดให้มีสวนเพื่อการพักผ่อน   โดยเฉพาะสวนน้อมเกล้าฯ  เป็นการส่งเสริม

    ให้ตำบลมีรายได้จากแหล่งท่องเที่ยว

2.   มีการรวมกลุ่มประกอบอาชีพอยู่เกือบทุกหมู่บ้าน

3.   แหล่งเงินทุนของกลุ่ม ได้จากการรวมหุ้นของกลุ่ม   ส่วนราชการต่าง ๆ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

4.   ประชาชนอนุรักษ์ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมของตนเองอย่างเหนียวแน่

 

สรุปผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่างที่ผ่านมา

                การสรุปสถานการณ์การพัฒนา

จากการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย  หลังจากที่มีการปฏิรูประบบราชการ นั้น

                องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่าง  ได้ดำเนินการตามกรอบการบริหารงานตามนโยบายของรัฐบาล  โดยมีการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงการบริหารโดยมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  ผลสัมฤทธิ์ต่อการภารกิจที่ได้รับมอบหมายความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าในการปฏิบัติงาน  เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน  ซึ่งได้มีการวางแผนแนวทางการแก้ไขปัญหาความต้องการของประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง  รวมทั้งมีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะในการบริหารงานโดยยึดหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี  (Good  Governance)  จึงทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่างสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ

·       ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพ การพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่าง  โดยการวิเคราะห์ใช้หลัก SWOT ดังนี้

(1)      จุดแข็ง  (S : Strength)

     เป็นชุมชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่เข้มแข็ง  ผลิต ข้าว  พริก  หอมแดง  ที่มีคุณภาพ

     มีการทอผ้าไหมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เช่น การมัดหมี่

     มีแหล่งน้ำสำคัญที่สามารถประกอบการเกษตรได้ดี

     มีสวนสาธารณะใช้พักผ่อน  และประกอบอาชีพประมง

     ประชากรมีคุณภาพ  ให้ความร่วมมือพัฒนาและไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

     มีที่ตั้งไม่ห่างไกลสถานที่ราชการในอำเภอและจังหวัด

     มีการประสานงานและร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการ

(2)      จุดอ่อน (W : Weakness)

     เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง  หรือเอกสารสิทธิในที่ทำกิน

     ระบบสาธารณูปโภคยังไม่สามารถใช้ได้พอเพียง

     ระบบน้ำอุปโภคบริโภคยังไม่พอเพียง

(3)      โอกาส (O : Opportunity

     รัฐบาลได้กระจายอำนาจให้สามารถบริหารจัดการตามภารกิจหน้าที่

(4)      ข้อจำกัด  (T : Threat)

     องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่างมีจำนวน 15  หมู่บ้าน  ทำให้การพัฒนาไม่ทั่วถึง

     มีงบประมาณไม่เพียงพอ

     มีบุคลากรไม่เพียงพอ

ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา

·       ผลวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น

                องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่าง   ได้สัมมนาประสานแผนชุมชนและประชาคม  เพื่อจัดทำแผนฯ  โดยได้มีการวิเคราะห์ปัญหา   8   กลุ่มได้แก่

1.  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

2.  ด้านแหล่งน้ำ

3.  ด้านเศรษฐกิจ

4.  ด้านการศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม

5.   ด้านสังคม

6.   ด้านสาธารณสุข

7.   ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

8.   ด้านการเมืองการบริหาร

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่าง  ขอสรุปผลการดำเนินงานในระยะที่ผ่านเชิงคุณภาพดังนี้

1. การดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน

-   ถนนสายในหมู่บ้านได้รับการปรับปรุง  ซ่อมแซม  เพื่อความสะดวกในการคมนาคม

-   ประชาชนได้รับความสะดวกในการขนส่ง  ถ่ายสินค้าด้านการเกษตร

-   ถนนสายระหว่างหมู่บ้านได้สร้างใหม่  ปรับปรุงซ่อมแซม  เพื่อความสะดวก  รวดเร็ว ในการเดินทางอีกทั้งยังส่งผลให้สุขภาพอนามัยดีด้วย

-   ถนนเชื่อมต่อเขตของตำบลใกล้เคียงได้รับการปรับปรุง  ซ่อมแซม  เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางและขนส่งสินค้าด้านการเกษตร

- ถนนเชื่อมต่อเขตหมู่บ้านในตำบล  ได้รับการก่อสร้างปรับปรุง  เป็นถนนลาดยาง ทำให้        การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว  และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

-   ไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ไฟฟ้าในหมู่บ้านและติดตั้งหลอดไฟฟ้าสาธารณะ  ได้รับการขยายและติดตั้งเพิ่ม  ทำให้ประชาชนลดต้นทุนการผลิต  และสะดวกขึ้น

2. การดำเนินงานด้านแหล่งน้ำ

-   ประชาชนมีน้ำใช้ในการทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์

-   ขุดลอกแหล่งน้ำและฝายกั้นน้ำ ทำให้กักเก็บน้ำสำหรับทำการเกษตรได้มาก

-   ประชาชนมีน้ำสะอาดในการอุปโภค  บริโภค

-   ประชาชนได้ใช้น้ำจากประปาหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น

-   ประชาชนมีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำ

-   ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการ  ซ่อมแซม   ปรับปรุง

     ในการใช้น้ำ

3.  การดำเนินการด้านเศรษฐกิจ

-    ประชาชนมีการรวมกลุ่มในรูปของออมทรัพย์

-    เกษตรกรได้รับความรู้จากการฝึกอบรมเรื่องเกษตรอินทรีย์

-   มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ  เช่น  กลุ่มทอผ้า  กลุ่มออมทรัพย์

-   ประชาชนมีงานและรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการจ้างแรงงานในโครงการ

     ของส่วนราชการ

-   เกษตรกรมีความรู้และความชำนาญจากการส่งเสริมสนับสนุนในการ

     ทำการเกษตรอินทรีย์,การทำปุ๋ยชีวภาพ

-   เพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง

     ให้กับประชาชน

- ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากการเปิดการท่องเที่ยวเชิง

   อนุรักษ์และวัฒนธรรม

4.  การดำเนินงานด้านการศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม

-   ประชาชนยึดคำสอนศาสนา  สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม

-   ประชาชนอนุรักษ์ประเพณี  วัฒนธรรม    มีศูนย์วัฒนธรรมประจำตำบล

-   มีการพัฒนาด้านการศึกษา โดยให้ทุกคนมีความเท่าเทียมด้านการศึกษา

-   ประชาชนมีความสนใจในการเล่นกีฬา  ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

-   มีการพัฒนาที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน

-   มีการอบรมศีลธรรมในโรงเรียน

ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารมากขึ้น  โดยมีการพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงอินเตอร์เนตภายในตำบลและ ส่วนราชการต่าง ๆ

5.  การดำเนินงานด้านสังคม

-   ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินมากขึ้น

-   ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่เยาวชนลดลง

-   เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากขึ้น  เช่น  มีการแข่งขัน

    กีฬาภายในตำบล

-   มีการจัดฝึกอบรมให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการรักบ้านเกิด

-   มีการจัดกิจกรรมนันทนาการให้กับโรงเรียนในเขตตำบลทุ่งสว่าง  เช่น 

     การแข่งขันกีฬา , วันเด็ก

6.  การดำเนินงานด้านสาธารณสุข

-    ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยและที่

      อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ

-   ประชาชนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

-   ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อมากขึ้น

-   ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้รับการเอาใจใส่ดูแลมากขึ้น

7.  การดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-   ประชาชนมีความรู้  ความเข้าใจในการใช้ดินและการปรับปรุงสภาพ

     ของดินมากขึ้น

-   ประชาชนมีความเข้าใจ ในการที่จะดูแลรักษาแหล่งน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำ

-   ประชาชนเห็นความสำคัญของป่าไม้ในการดูแลรักษาป่าไม้และปลูกป่า

     มากขึ้น

-   ประชาชนมีจิตสำนึกในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

8.  การดำเนินงานด้านการเมืองการบริหาร

-   ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเมืองมากขึ้น

-   สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่างมีความรู้ความเข้าใจใน

     กฎระเบียบการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น

-   พนักงานส่วนตำบลมีความรู้  ความเข้าใจในกฎหมายระเบียบงาน

     ปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น

-   ประชาชนมีจิตสำนึก ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น

-   องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่าง  มีอาคารสถานที่ดีขึ้น

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่าง มีเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน

    ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด

การพัฒนาตามนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                1.ประเด็นยุทธศาสตร์หลักซึ่งรัฐบาลมุ่งเน้นให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก  รวมทั้งสิ้น 9 ประการคือ

(1)     การขจัดความยากจน

(2)     การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภา

(3)     การปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้

(4)     การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(5)     การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

(6)     การพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารบ้านเมืองที่ดี

(7)     การส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม

(8)     การรักษาความมั่นคงของรัฐ

(9)     การรองรับความเปลี่ยนแปลงและพลวัตโลก

2.  เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์  อันเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องการให้บรรลุผลในแต่ละประเด็นยุทธ ศาสตร์สำหรับช่วงระยะเวลา ปี พ.. 2548-2551 รวมถึงตัวชี้วัด และเป้าหมาย ของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ในการกำกับติดตามและการประเมินผลการบริหารราชการแผ่นดิน

3. กลยุทธ์หลัก ซึ่งจะแสดงให้เห็นแนวทาง มาตรการ และวิธีการดำเนินงานสำคัญๆ อันถือเป็นกุญแจสำคัญต่อการบรรลุผลต่อเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งเป็นเงื่อนไขในการมอบหมายให้เจ้าภาพหรือหน่วยงานผู้รับผิดชอบต่างๆรับไปดำเนินการต่อ

                สรุปโครงสร้างประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การขจัดความยากจน

ก.       ระดับปะเทศ

ข.       ระดับชุมชน

ค.       ระดับบุคคล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ

ก.       การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม 

ข.       การอนุรักษ์  สืบทอดประเพณี  วัฒนธรรมที่ดีงาม 

ค.       การเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพมาตรฐาน

ง.       การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม

จ.       การเตรียมความพร้อมแก่สังคมเพื่อให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ

ฉ.      การพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองที่แข็งแรงและน่าอยู่

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3  การปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้

                การปรับโครงสร้างภาคการเกษตร

ข.       การปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรม

ค.       การปรับโครงสร้างด้านการท่องเที่ยว  การบริการและการค้า

ง.       การบริหารการเงินการคลัง

จ.       วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  วิจัย  และนวัตกรรม

ฉ.      การพัฒนาระบบโลจิสติกส์

ช.      การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ซ.      การพัฒนารัฐวิสาหกิจ

ฌ.     การพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  4  การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ก.       การสร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ข.       การคุ้มครองและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม

ค.       การฟื้นฟูทรัพยากรดินและใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

ง.       การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นธรรม

จ.       การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของเอกชนและชุมชนท้องถิ่น

ฉ.      การควบคุมมลพิษจากขยะ  น้ำเสีย  ฝุ่นละออง  ก๊าซ  กลิ่น  และเสียง

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  5  การต่างประเทศและการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ก.       การดำเนินนโยบายต่างประเทศเชิงรุก

ข.       การส่งเสริมความสัมพันธ์กับนานาประเทศ

ค.       การส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบพหุภาคีและการสร้างบทบาทไทยในเวทีโลก

ง.       ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

จ.       การทูตเพื่อประชาชน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  6  การพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ก.       การปรับปรุงกฎหมาย

ข.       การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม

ค.       การพัฒนาระบบราชาร

ง.       การป้องกันและปราบปรามทุจริต

จ.       การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในภาคเอกชนและสังคม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  7  การเสริมสร้างประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม

ก.       การพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการประชาสังคม

ข.       การส่งเสริมการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ค.       การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  8  การรักษาความมั่นคงของรัฐ

ก.       การพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

ข.       การป้องกันประเทศ

ค.       การรักษาความมั่นคงของรัฐ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  9  การรองรับการเปลี่ยนแปลงและพลวัตโลก

                                แผนการบริหารราชการแผ่นดินดังกล่าวนี้ยังจะใช้ประโยชน์สำหรับการอ้างอิงหรือเป็นแม่บทในการถ่ายทอดกลยุทธหลักระดับกระทรวง  ทบวง  กรม  หรือมิติการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ปกติ(functional – based approach)  ในระดับกลุ่มจังหวัดและจังหวัดหรือมิติพื้นที่(area based appoach) รวมถึงกลไกการทำงานข้ามหน่วยงานและพื้นที่  หรือมิติตามระเบียบวาระงานพิเศษ(agenda  based  appoach) ในรูปแบบของการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ  ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำ  อันจะช่วยให้การบริหารราชการแผ่นดินและการจัดสรรทรัพยากรเกิความสอดคล้องบูรณาการ และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบโดยสรุปแผนการบริหารราชการแผ่นดินเป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่จะช่วยให้รัฐบาลสามารถบริหารปกครองในเชิงรุก  มีการมอบหมายเจ้าภาพหรือผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนเกิดบูรณาการ  สามารถประสานแนวทางมาตรการ และวิธีทำงานของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน  รวมถึงการเชื่อมโยงการวางแผนเข้ากับกระบวนการจัดสรรทรัพยากร  การติดตามตรวจสอบและประเมินผล  อันจะช่วยทำให้เกิดพลังและสามารถขับเคลื่อนการทำงานของภาครัฐในทุกระดับและทุกมิติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น

ทิศทางพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10

                (1) จุดมุ่งหมาย  การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฉบับที่ 10 จะมุ่งพัฒนาสู่สังคมแห่งความสุขยั่งยืน(Green  Society)”  โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นในทุกมิติทั้งมิติทางเศรษฐกิจ  สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

                (2)แนวคิดพื้นฐาน  ยังคงยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและยึดหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”  เป็นปรัชญานำทางในการบริหารและพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยมีการขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติในแต่ละยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

                (3)ทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10  มุ่งนำทุนที่มีอยู่แล้วในสังคมไทยทั้งทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม  และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเสริมสร้างให้เข้มแข็ง โดยวางแนวทางในการพัฒนา และเสริมสร้างทุนทั้ง 3 ลักษณะดังกล่าวทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม รวมทั้งระดับประเทศ เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ดังนี้

                                (3.1) ทุนทางเศรษฐกิจ  ประกอบด้วยทุนทางกายภาพ(Physicial  capital) ทุนหรือสินทรัพย์ทางการเงิน (Financal Capital / assets) สินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ทางกายภาพ แต่สามารถอ้างสิทธิประโยชน์ได้ในอนาคต(Intangble Capital) และแรงงาน/ทรัพยากรมนุษย์

                                (3.2) ทุนทางสังคม  เกิดจากการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจสายใยความผูกพันและวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรมและองค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังชุมชนและสังคมโดยองค์ประกอบหลักทั้ง 4 ด้านมีบทบาทและยึดโยงให้เกิดทุนทางสังคม

                                (3.3) ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพจะเป็นประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึงความหลากหลายของชนิดพันธุ์ พันธุกรรม และระบบนิเวศ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับทุนทางสังคม เพราะเป็นที่มาของภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิธีการดำรงชีวิตของชุมชน เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างมูลค่าของผลผลิตทั้งเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมทั้งเป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิตและการดำรงชีวิตที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์การแข่งขันและการค้าระหว่างประเทศ

 

view
view